วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิธีการอัพเกรด Notebook ด้วยการเพิ่ม RAM กับเคล็ดลับการเลือกแรมที่ง่ายแบบสุดๆ และมีประสิทธิภาพสูงที่สุด


คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนในยุคสมัยนี้ 
ด้วยความสะดวกในการพกพา และสเปคภายในที่ปัจจุบันยิ่งอัดกันเข้ามาแบบไม่อาย PC กันเลยทีเดียว 
ซึ่งพอซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่มาอย่างแรกที่เรามักทำกันคือ

การอัพเกรดแรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 

เพราะส่วนใหญ่ที่ได้มามักจะติดเครื่องมาแค่พอใช้ทำงานทั่วไปเท่านั้น
 และการเพิ่มแรม ก็มีข้อจำกัดหลายประการ
ไม่ว่าจะมีขนาดความเร็ว BUS ให้เลือกหลายหลาย 
หรือขนาดความจุที่เครื่องสามารถรองรับได้ และจำนวนช่องเสียบเพิ่ม RAM ที่ค่อนข้างจำกัด 
ส่วนใหญ่มักมี 2 ช่องสำหรับโน๊ตบุ๊คทั่วไป 
แต่สำหรับโน๊ตบุ๊คประเภท Ultrabook บางเครื่องก็มีมาให้เพียง 1 ช่องเท่านั้น เช่น 
Samsung 540U3C Ultrabook (มีแรมฝังในตัว 4 GB) 

ทำให้การเลือกซื้อแรมมาเพิ่มเป็นปัญหาอย่างมาก 
เพราะเวลาจะเพิ่มเราก็อยากจะทำครั้งเดียวจบ

ดังนั้นเราจะมาดูว่า เพิ่ม RAM อย่างไรให้เครื่องโน๊ตบุ๊คของเรามีประสิทธิภาพสูงที่สุด มี 2 วิธี ได้แก่

1. วิธีทั่วไป
เราจะใช้วิธีการค้นหาประเภทของ RAM และความจุ 
ที่ทางผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คได้บอกเอาไว้ โดยเข้าไปที่เว็ปไซด์ 

datamemorysystems.com 

และใช้คำค้นหา คือ  "ชื่อรุ่น" ดังภาพ


จากภาพจะเห็นว่า MSI GP60 รุ่นนี้ 
สามารถรองรับ DDR3 1600MHz มีช่องเสียบ 2 ช่อง รองรับได้สูงสุด 16 GB
ซึ่งเป็นขนาดปกติมากๆ สำหรับโน๊ตบุ๊คสมัยนี้

ถ้าเรายังไม่มั่นใจ หรืออยากได้ข้อมูลเพิ่ม 
เราสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเหล่านี้ จากเว็ปผู้ผลิตโดยตรงก็ได้ 
(แต่ไม่สามารถค้นหาได้ทุกยี่ห้อนะจ้ะ)


จากภาพให้สังเกตุที่ตรงคำว่า Memory จะเห็นว่ามีข้อมูลเพิ่มขึ้นมาคือ

  MSI GP60 รุ่นนี้ สามารถรองรับ DDR3L (รุ่นประหยัดไฟ) เท่านั้น
 มี 2 ช่องให้เสียบ รองรับความเร็ว Bus ได้ไม่เกิน 1600MHz 
และได้ความจุสูงสุดที่ 16GBเช่นกัน

พอรู้ดังนี้แล้ว เราก็จะสามารถซื้อ RAM เพื่ออัพเกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้คือ

RAM ประเภท DDR3L bus 1600MHz ขนาด 8GB จำนวน 2 ตัว (เพราะมี 2 ช่องเสียบ)

แต่........ 
วิธีการดังกล่าวก็ไม่ใช่การเพิ่มแรมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

2. วิธีการเพิ่มแรมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

จำเป็นต้องรู้รุ่น CPU หรือ Processor ของโน๊ตบุ๊คของเรา 
วิธีที่นิยมคือ การ googling โดยใช้คำค้นหา "ชื่อรุ่นโน๊ตบุ๊คของเรา" 
เพือ ดูว่า CPU ในเครื่องของเราเป็นรุ่นไหน  

หรือ บางเครื่องก็มีแปะสติ๊กเกอร์ไว้ที่เครื่อง ดังภาพ


นำชื่อรุ่นของ CPU ดังตัวอย่าง เช่น I7-4700MQ ไปค้นหาให้เว็ปไซด์ 

http://ark.intel.com

ซึ่งเป็นเว็ปไซด์ของผู้ผลิต Processer ค่าย Intel โดยตรงซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด



จากภาพจะเห็นว่า CPU i7-4700MQ นั้นสามารถรองรับ RAM ได้แค่ 

DDR3L ที่ความเร็ว BUS 1333 หรือ 1600 เท่านั้น 
และมีขนาดความจุของ RAM 

ได้สูงสุดมากถึง 32GB 


ซึ่งมากกว่าที่เราทราบจากเว็ปผู้ผลิตเสียอีก 
(ดีนะไม่พลาดซื้อก่อนไม่งั้นเสียดายแย่เลย)

พอได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว เราก็ต้องจัดซื้อ RAM เพื่อให้โน๊ตบุ๊คของเรามีประสิทธิภาพสูงที่สุด ได้ดังนี้

เพิ่ม RAM DDR3L bus 1600MHz ขนาด 16GB จำนวน 2 ตัว ให้เต็มที่ความจุ 32GB ไปเลยครับ


-----------------------------------------

ปล. กรณีที่โน๊ตบุ๊ครองรับเพียง DDR3L เท่านั้น จะไม่สามารถมองเห็น DDR3 แบบปกติได้
แต่ในบางรุ่นก็รองรับได้ทั้ง 2 ประเภทครับ

ปล. ขนาดความจุของ RAM จากผู้ผลิต น่าจะเกิดจากเทคโนโลยีของ CPU ไปไกลเกินกว่าการผลิต RAM จะตามทัน ทำให้ในช่วงเวลาที่ซื้อโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ มี RAM ให้หาซื้อได้เพียงแค่ 8GB เท่านั้น


วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อประกอบคอมพิวเตอร์ PC ด้วยตนเอง

เทคนิคการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อประกอบคอมพิวเตอร์ PC ด้วยตนเอง

จากประสบการณ์ที่ผมได้เคยสั่งประกอบคอมพิวเตอร์ PC มาหลายรุ่น หลายราคา 
ตั้งแต่หลักหมื่นต้นๆ จนถึงครึ่งแสน มีเทคนิคการประกอบและคำนวณกำลังไฟง่ายๆ แค่ 2 ข้อดังนี้

ข้อแรก ต้องรู้งบประมาณที่แน่นอนเสียก่อน ถ้ามีงบประมาณค่อนข้างสูงการจัดเสปคคอมต่างๆ 
ไม่ใช่เรื่องยากเท่าใดนัก แต่ถ้างบประมาณที่จำกัดอันนี้ต้องใช้ความพยายามสักนิดหนึ่ง

ข้อสอง ต้องรู้ความต้องการของเราว่า ต้องการประกอบเพื่อมาใช้ทำอะไร เพื่อเลือกสิ่งที่จำเป็นจริงๆ 
และตัดสิ่งที่ไม่ได้ใช้ออก เพื่อให้ได้สเปคที่คุ้มค่าในงบประมาณที่จำกัด เช่น 

ถ้าไม่ได้ใช้ DVD บ่อยๆ ก็ตัดออกไปก็ประหยัดได้ 600.- 

ไม่ต้องการ CASE ที่หรูหรา ก็ประหยัดไปได้อีกหลายร้อย

ต้องการทำงานกราฟิค 3D ก็ต้องใช้การ์ดจอกราฟิคเฉพาะ เช่น 
ค่าย NVIDIA ก็มี QUADRO ส่วนค่าย AMD ก็มี  Firepro ให้เลือกใช้ 
ซึ่งประสิทธิภาพจะต่างจากการ์ดจอทั่วไปอย่างไร 
ลองหาพวกคลิปทดสอบใน youtube ดูครับ

------------------------------------------------------

เวลาเลือกสเปคโน๊ตบุ๊ค เว็ปไซด์ที่ผมมักเข้าไปเลือกสินค้า คือ ADVICE.co.th 
เนื่องจากราคาค่อนข้างถูก และเชื่อถือได้

โดยเข้าไปที่เมนู สินค้า --> Computer Hardware(DIY)
จากนั้นเลือก CPU เป็นอย่างแรกเลยครับ เพราะ CPU เป็นอย่างแรกที่จะทำให้รู้ว่าจะดีไซด์งบประมาณอย่างไรดีครับ ส่วนใหญ่ผมจะให้มูลค่าประมาณ 1 หรือ 2 ส่วน 5 ของงบประมาณทั้งหมดครับ

1. วิธีการเลือก CPU ง่ายๆ คือดูที่ราคาเทียบกับประสิทธิภาพ 
โดยเลือกผลทดสอบความแรงได้จากเว็ปไซด์

https://www.cpubenchmark.net/


เมื่อได้ CPU ที่ต้องการแล้วควรเลือกไว้สัก 2-3 รุ่นเผื่อไว้ด้วย 
เพราะ CPU บางรุ่นต้องการ MAINBOARD ราคาค่อนข้างสูงถึง 7-8 พันบาทเลยทีเดียว 
ซึ่งเมื่อเราเลือกอุปกรณ์ทุกอย่างหมดแล้ว งบอาจจะบานปลายจนจะต้องเปลี่ยนใจตอนหลังก็ได้


2. เลือก MAINBOARD เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเลือกหลังจากได้ CPU แล้ว 
โดยให้สังเกตุที่ตัว CODE ของรหัส SOCKET เช่น INTEL 2011 หรือ AMD FM3+ เป็นต้น 
จากนั้นให้เลือกตามเมนูเลยครับ ซึ่ง MAINBOARD แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 
บอร์ดปกติ และ บอร์ดที่มี "(VGA on)" ซึ่งเป็นบอร์ดที่มีการ์ดจอในตัว


ซึ่งวิธีการเลือกของผมให้ดูที่ Chipset ของ MAINBOARD และ 
ความเร็วของ RAM เป็นหลักครับ ยิ่งรองรับแรมที่มีความเร็วสูงๆ ได้ยิ่งดีครับ

3. RAM หรือ Memory อุปกรณ์นี้ผมใช้วิธีการเปรียบเทียบราคากับความเร็วก่อนครับ 
เพราะ RAM บางตัวมี BUS สูงกว่าแต่มีราคาเท่ากับตัวที่ความเร็วต่ำกว่าก็มีครับ 
อยากใส่แบบไหนก็ตามอัธยาศัยและงบประมาณเลยครับ


4. Graphic Card หรือที่เรียกติดปากกันว่าการ์ดจอนั่นเอง 
อุปกรณ์ชิ้นนี้เราดูกันที่การใช้งานและงบประมาณกันเป็นหลักครับ 
โดยเทียบประสิทธิภาพได้จากเว็ปไซด์นี้ได้เลยครับ

http://www.videocardbenchmark.net/


5. Hard Disk เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม 
ปัจจุบันนิยมใช้ Hard Disk ประเภท SSD สำหรับเก็บไฟล์วินโดว์และโปรแกรม 
เนื่องจากความเร็วในการอ่านและเขียนที่เร็วกว่า Hard Disk แบบ SATA-III อย่างมาก 
แต่ราคาก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน เช่น APACER 120GB ราคาประมาณ 1,490 บาท เป็นต้น 
จึงมักนิยมใช้ SSD 1 ตัวที่ความจุน้อยๆ และซื้อ Hard Disk แบบ SATA-III ที่มีความจุมากกว่า
แต่ราคาถูกกว่ามาเพื่อเก็บข้อมูลครับ


6. Power Supply นี่เป็นตัวหลักเลยที่ทำให้คนประกอบคอมค่อนข้างปวดหัวกัน 


เนื่องจากเสปคการกินไฟของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่เท่ากัน สมัยก่อนต้องไปไล่เซ็คอุปกรณ์แต่ละตัว 
แล้วคำนวณโดยประมาณ แต่ตอนนี้ชีวิตง่ายขึ้นเมื่อผมเจอเว็ปไซด์ 

http://outervision.com/power-supply-calculator#Expert
และ
http://www.coolermaster.com/power-supply-calculator/


วิธีการใช้ให้เราเลือกข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆ ลงในแต่ละช่อง แล้วคลิกที่ปุ่ม Calculate ก็จะคำนวณกำลังไฟที่ใช้ออกมาได้ครับ

เมื่อได้กำลังไฟที่ต้องการก็ไปเลือก Power Supply ตามกำลังไฟที่ต้องการได้เลยครับ

------------------------------------------------------

การเลือกซื้ออุปกรณ์ หลักๆ เพื่อประกอบคอมพิวเตอร์ PC หนึ่งเครื่องก็ประมาณนี้ครับ  

ส่วนอุปกรณ์ที่เหลือ ได้แก่ CASE, DVD Drive, LCD Monitor, Mouse, Keyboard ฯลฯ

ดูว่างบประมาณเหลืออยู่เท่าไหร่ก็จัดไปตามความชอบ และงบประมาณได้เลยครับ



วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559

GIS : Raster Reclassify by QGIS 2.14.0-Essen

1. เปิดข้อมูล Raster ที่ต้องการ 
ดังตัวอย่าง "ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรวม 30 ปี" 

ได้จากการ Interpolate ข้อมูลตำแหน่งสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำฝน 
ดังภาพ



2. เลือกเมนู Plugins --> Manage and Install Plugins...



3. เลือกเมนู Processing ทำการติดตั้ง Plugin ดังกล่าว



4. สร้างช่วงชั้นข้อมูลที่ต้องการปรับค่า ในโปรแกรม Notepad 
และ Save ข้อมูลในรูป Text file



5. เลือกเมนู Processing --> Commander



6. พิมพ์ค้นหาคำสั่ง "r.reclass" เลือกคำสั่งดังภาพ 
พร้อมทั้งกดปุ่ม Enter ที่ Keyboard



7. จะปรากฏหน้าต่างโปรแกรมขึ้นมา เลือกเมนูตามภาพด้านล่าง โดย

File containing reclass rules [optional]  เลือกข้อมูล "Text file" ที่เราได้ทำเตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 4

Reclassified เลือกที่จัดเก็บและสร้างชื่อไฟล์ข้อมูลภาพใหม่

 จากนั้นกดปุ่ม Run 



8. จะปรากฏหน้าต่างข้อมูลที่ถูกปรับค่าแล้ว ดังภาพเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการ Reclassify


-------------------------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

FREE GIS DATA สำหรับทำแผนที่จาก "เว็ปไซด์ต่างประเทศ" ที่น่าสนใจ

DIVA-GIS

แหล่งโหลดข้อมูลที่มีข้อมูลทุกประเทศในโลกใบนี้ 
ประกอบด้วยข้อมูล Shape file ทั้งหมด
ประกอบด้วยชั้นข้อมูลสำคัญ ดังภาพ


Link : http://www.diva-gis.org/gdata

------------------------------------------------------------------------------

OpenStreetMap (OSM)

ประกอบด้วยชั้นข้อมูลหลักๆ ของประเทศนั้นๆ 
มีชั้นข้อมูลที่ค่อนข้างน่าสนใจ คือ ชั้นข้อมูลถนนที่ค่อนข้างจะทันสมัย 
และข้อมูลตำแหน่งสถานที่สำคัญ (Point of Interest) ที่ให้มาค่อนข้างมาก 
โดยมาในรูปแบบของไฟล์ KMZ และ GPX 
ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องทำการแปลงข้อมูลก่อนนำไปใช้งานต่อไป

ที่สำคัญมีเวลาอัพเดทข้อมูลระบุไว้ ดังตัวอย่างในภาพ
Last data update: 11. Nov 2015



Link : http://www.openstreetmap.la/?lang=en

------------------------------------------------------------------------------

GREATER MEKONG SUBREGION
CORE ENVIRONMENT PROGRAM

ประกอบด้วยข้อมูล DEM หรือข้อมูลความสูง
และข้อมูล Shape file ประเทศในแถวลุ่มแม่น้ำโขงเท่านั้น



Link : http://www.gms-eoc.org/gis-data

------------------------------------------------------------------------------

หากผู้ใดมีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ สามารถเพิ่มเติมได้ครับ ผู้เขียนจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การซ่อมโน๊ตบุ๊คปัญหาเปิดไม่ติด ด้วยการอบชิพการ์ดจอด้วยไดร์เป่าผม!!!!!!!!

ปัญหาหนึ่งที่มักพบในโน๊ตบุ๊คประเภทที่มีการ์ดจอแยก 
เมื่อใช้ไปนานๆ มักจะประสบปัญหาหนึ่งคือเปิดไม่ติด 
ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถเกิดได้หลายสาเหตุซึ่งหนึ่งในสาเหตุเหล่านี้ คือ 
ปัญหาที่เกิดจาก "การ์ดจอ" นั่นเอง

เครื่องโน๊ตบุ๊คที่มีปัญหาในที่นี้คือ Acer Aspire 4551G



http://notebookspec.com/notebook/2953-ACER-Aspire-4551G-N832G64Mnsk-C029.html

อาการหลัก
- ไฟเข้าปกติ เปิดเครื่องพัดลมหมุนปกติ แต่ไม่มีภาพขึ้น
- ในสมัยก่อน เริ่มรู้จักปัญหานี้จากชื่อ "เคสคุณอัมพร

.....................................................................................................

ผู้เขียนได้รู้จักกรณี "เคสคุณอัมพร" นี้
เนื่องจากประมาณ 7 ปีก่อน ในช่วงปี พ.ศ.2552 
ผู้เขียนได้ซื้อโน๊ตบุ๊คยี่ห้อ Compaq รุ่น V3010
ซึ่งขณะนั้นมีราคา 29,900 (แถมปริ๊นท์เตอร์ CANON all in one 1 ตัว) 
ใช้งานได้รวมระยะเวลาประมาณ 1 ปี กับอีก 1 วัน  
วันรุ่งขึ้นเปิดเครื่องติดแต่ไม่มีภาพขึ้นซะแล้ว

.............................................

จากนั้นเอาไปให้ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ในห้างตึกคอมศรีราชาเช็คให้ 
ทางร้านคิดค่าบริการ "อบชิพ" ในราคา 2,500 บาท 
พร้อมรับประกัน 3 เดือน
เหรือเปลี่ยนบอร์ดใหม่ในราคาประมาณ 8,000 บาท
(ขณะนั้นยังไม่มีบริการเปลี่ยนเฉพาะชิพบางตัว)

.............................................

เนื่องจากราคาค่าเปลี่ยนเมนบอร์ดค่อนข้างสูง
ผู้เขียนจึงตัดสินใจเลือการ "อบชิพ" รอประมาณ 3 วันไปรับกลับมากลับมาใช้งานได้ปกติ
จนเวลาล่วงเลยไปประมาณ 4 เดือน
ก็เกิดอาการเปิดหน้าจอไม่ติดเช่นเดิม

.............................................

โชคดีที่ช่วงนั้นมีกระแสออกมาว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากการออกแบบภายในที่ผิดพลาด
จากนั้นไม่นานทางบริษัทก็ได้รับผิดชอบโดยการ
เปิดรับซ่อมอาการเสียนี้โดยการเปลี่ยนเมนบอร์ดให้ฟรี 
โดยผู้ใช้ต้องส่งเคลมในชื่อเคส "คุณอัมพร" นั่นเอง

.....................................................................................................

เรากลับมาที่ปัญหาปัจจุบัน

โน๊ตบุ๊คที่มีปัญหาตัวนี้เป็นโน๊ตบุ๊คที่มีการ์ดจอ ATI รุ่น HD5650 
อายุอานามก็ปาไป 6-7 ปี คงอยู่กับเราได้อีกไม่กี่ปี
ครั้นจะเอาไปเปลี่ยนเมนบอร์ดก็เสียดายเงิน 7,000 - 8,000 บาทเปล่าๆ

.............................................

อาการที่พบ คือ

เปิดแล้วหน้าจอไม่ขึ้น 
พัดลม CPU หมุนปกติ ลมออกมาร้อนมากกกกกก จนรู้สึกผิดปกติ
ยังคงสามารถกดปุ่ม Power ค้างไว้จนปิดเครื่องได้

.............................................

ขั้นแรกลองแก้ปัญหาเรื่องความร้อนก่อน โดยการ
- แกะโน๊ตบุ๊คออกมาทำความสะอาดเครื่องและช่องระบายอากาศของโน๊ตบุ๊ค
- ทำความสะอาดแผงเมนบอร์ดด้วยสเปรย์ทำความสะอาดแผงวงจร และแปรงสีฟัน
- เปลี่ยนถ่าน BIOS เป็นก้อนใหม่

ผลที่ได้
"เครื่องเย็นลงมาก แต่หน้าจอยังคงมืดเช่นเดิม"

.............................................

ต่อมาลองเอาข้อมูลรุ่น และเสปคไปสืนค้นข้อมูลจาก Google
เพื่อหาคนที่มีปัญหาเหมือนๆ กัน หลายคน 
พบว่า สาเหตุนี้น่าจะเกิดจากชิพเซ็ตการ์ดจอเสื่อมสภาพนั่นเอง

.............................................

ทางแก้ไขมี 3 วิธีการ ดังนี้

1. เปลี่ยนเมนบอร์ด อันนี้แก้ปัญหาได้ง่ายที่สุด 
อยู่ได้นานสุด แต่แพงที่สุดเช่นกัน

2. เปลี่ยนชิพการ์ดจอ อันนี้แก้ปัญหาได้ตรงจุดขึ้น 
ถ้าซื้อชิพมาเปลี่ยนเองราคาประมาณ 800-1200 บาท แล้วแต่รหัส
แต่หาซื้อยากมาก และต้องใช้เครื่องยกชิพช่วย
ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงและต้องการความชำนาญในระดับหนึ่ง
แต่ถ้าให้ร้านทำให้ราคาประมาณ 2,000-3,000 บาทขึ้นอยู่กับร้านนั้นๆ

3. การ "อบชิพ" การจอ ซึ่งเป็นวิธีที่ดูจะประหยัดที่สุด 
แต่อายุการใช้งานสั้นสุด บางเคสใช้งานได้แค่ไม่กี่วัน

.............................................

สุดท้ายผู้เขียนจึงตัดสินใจทำการ "อบชิพ" การ์ดจอ 
โดยปกติต้องอาศัยเครื่องเป่าลมร้อน

แต่ในที่นี้เราจะใช้วิธี "อบชิพ" ด้วยไดร์เป่าผมแทน

อันดับแรก เริ่มจากการแกะเครื่อง พร้อมทั้งถอดอุปกรณ์ทั้งหมดออก
ให้เหลือเพียงเมนบอร์ดเปล่าๆ เท่านั้น


ลองมาดูที่ส่วนของชิพการ์ดจอเจ้าของปัญหา 
คือ ชิพสี่เหลี่ยมบริเวณนี้ สังเกตุสัญลักษณ์ ATI ดังภาพ



นำฟรอยด์ หรือเทปโลหะที่สมัยก่อนนิยมใช้ในการปะซ่อมแซม 
หม้อ อุปกรณ์ที่ทำจากโลหะ 
สามารถหาซื้อได้จากร้าน 20 บาท นำมาห่อเมนบอร์ดไว้ 
และเจาะช่องให้พอดีกับขนาดของชิพการ์ดจอ



นำไดร์เป่าผมมาปรับขนาดของรูปลมออกโดยใช้กระดาษแข็งทำเป็นกรวยแปะไว้



โดยใช้กระดาษห่อดังภาพ ให้มีขนาดเล็กลงพอดีกับขนาดของชิพการ์ดจอ








....................................................

จากนั้นทำการเป่าการ์ดจอด้วยแรงลมที่แรงที่สุด 
โดยให้อุณหภูมิอยู่ประมาณ 100-120 องศาโดยประมาณ 
(ถ้าไม่มีที่วัดอุณหภูมิ ใช้กะห่างจากชิพประมาณ 3-5 เซนติเมตร
 ขึ้นกับขนาดของไดร์เป่าผม โดยในที่ใช้ใช้ขนาด 1500W)

....................................................

ใช้เวลาประมาณ 5 นาที จากนั้นก็นำฟรอยด์ออก
พร้อมทั้งปล่อยให้ชิพเย็นประมาณครึ่งชั่วโมง 
(ถ้าห้องแอร์จะเร็วกว่านี้ก็ได้) 
จากนั้นนำซิลิโคนมาทาพร้อมทั้งประกอบเครื่องกลับเช่นเดิม



ทดสอบเปิดเครื่อง สำเร็จเรียบร้อย



ปล. วิธีการนี้สามารถคืนชัพโน๊ตบุ๊คให้กลับมาใช้งานได้ระยะเวลาหนึ่ง
 อาจจะเป็นวัน สัปดาห์ แต่ไม่น่าจะเกิน 2-3 เดือนเท่านั้น

ถ้าเกิดอาการเครื่องดับอีกครั้งแนะนำให้เปลี่ยนชิพการ์ดจอ 
หรือขายเป็นอะไหล่ จากนั้นซื้อเครื่องใหม่ครับ