วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อประกอบคอมพิวเตอร์ PC ด้วยตนเอง

เทคนิคการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อประกอบคอมพิวเตอร์ PC ด้วยตนเอง

จากประสบการณ์ที่ผมได้เคยสั่งประกอบคอมพิวเตอร์ PC มาหลายรุ่น หลายราคา 
ตั้งแต่หลักหมื่นต้นๆ จนถึงครึ่งแสน มีเทคนิคการประกอบและคำนวณกำลังไฟง่ายๆ แค่ 2 ข้อดังนี้

ข้อแรก ต้องรู้งบประมาณที่แน่นอนเสียก่อน ถ้ามีงบประมาณค่อนข้างสูงการจัดเสปคคอมต่างๆ 
ไม่ใช่เรื่องยากเท่าใดนัก แต่ถ้างบประมาณที่จำกัดอันนี้ต้องใช้ความพยายามสักนิดหนึ่ง

ข้อสอง ต้องรู้ความต้องการของเราว่า ต้องการประกอบเพื่อมาใช้ทำอะไร เพื่อเลือกสิ่งที่จำเป็นจริงๆ 
และตัดสิ่งที่ไม่ได้ใช้ออก เพื่อให้ได้สเปคที่คุ้มค่าในงบประมาณที่จำกัด เช่น 

ถ้าไม่ได้ใช้ DVD บ่อยๆ ก็ตัดออกไปก็ประหยัดได้ 600.- 

ไม่ต้องการ CASE ที่หรูหรา ก็ประหยัดไปได้อีกหลายร้อย

ต้องการทำงานกราฟิค 3D ก็ต้องใช้การ์ดจอกราฟิคเฉพาะ เช่น 
ค่าย NVIDIA ก็มี QUADRO ส่วนค่าย AMD ก็มี  Firepro ให้เลือกใช้ 
ซึ่งประสิทธิภาพจะต่างจากการ์ดจอทั่วไปอย่างไร 
ลองหาพวกคลิปทดสอบใน youtube ดูครับ

------------------------------------------------------

เวลาเลือกสเปคโน๊ตบุ๊ค เว็ปไซด์ที่ผมมักเข้าไปเลือกสินค้า คือ ADVICE.co.th 
เนื่องจากราคาค่อนข้างถูก และเชื่อถือได้

โดยเข้าไปที่เมนู สินค้า --> Computer Hardware(DIY)
จากนั้นเลือก CPU เป็นอย่างแรกเลยครับ เพราะ CPU เป็นอย่างแรกที่จะทำให้รู้ว่าจะดีไซด์งบประมาณอย่างไรดีครับ ส่วนใหญ่ผมจะให้มูลค่าประมาณ 1 หรือ 2 ส่วน 5 ของงบประมาณทั้งหมดครับ

1. วิธีการเลือก CPU ง่ายๆ คือดูที่ราคาเทียบกับประสิทธิภาพ 
โดยเลือกผลทดสอบความแรงได้จากเว็ปไซด์

https://www.cpubenchmark.net/


เมื่อได้ CPU ที่ต้องการแล้วควรเลือกไว้สัก 2-3 รุ่นเผื่อไว้ด้วย 
เพราะ CPU บางรุ่นต้องการ MAINBOARD ราคาค่อนข้างสูงถึง 7-8 พันบาทเลยทีเดียว 
ซึ่งเมื่อเราเลือกอุปกรณ์ทุกอย่างหมดแล้ว งบอาจจะบานปลายจนจะต้องเปลี่ยนใจตอนหลังก็ได้


2. เลือก MAINBOARD เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเลือกหลังจากได้ CPU แล้ว 
โดยให้สังเกตุที่ตัว CODE ของรหัส SOCKET เช่น INTEL 2011 หรือ AMD FM3+ เป็นต้น 
จากนั้นให้เลือกตามเมนูเลยครับ ซึ่ง MAINBOARD แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 
บอร์ดปกติ และ บอร์ดที่มี "(VGA on)" ซึ่งเป็นบอร์ดที่มีการ์ดจอในตัว


ซึ่งวิธีการเลือกของผมให้ดูที่ Chipset ของ MAINBOARD และ 
ความเร็วของ RAM เป็นหลักครับ ยิ่งรองรับแรมที่มีความเร็วสูงๆ ได้ยิ่งดีครับ

3. RAM หรือ Memory อุปกรณ์นี้ผมใช้วิธีการเปรียบเทียบราคากับความเร็วก่อนครับ 
เพราะ RAM บางตัวมี BUS สูงกว่าแต่มีราคาเท่ากับตัวที่ความเร็วต่ำกว่าก็มีครับ 
อยากใส่แบบไหนก็ตามอัธยาศัยและงบประมาณเลยครับ


4. Graphic Card หรือที่เรียกติดปากกันว่าการ์ดจอนั่นเอง 
อุปกรณ์ชิ้นนี้เราดูกันที่การใช้งานและงบประมาณกันเป็นหลักครับ 
โดยเทียบประสิทธิภาพได้จากเว็ปไซด์นี้ได้เลยครับ

http://www.videocardbenchmark.net/


5. Hard Disk เป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม 
ปัจจุบันนิยมใช้ Hard Disk ประเภท SSD สำหรับเก็บไฟล์วินโดว์และโปรแกรม 
เนื่องจากความเร็วในการอ่านและเขียนที่เร็วกว่า Hard Disk แบบ SATA-III อย่างมาก 
แต่ราคาก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน เช่น APACER 120GB ราคาประมาณ 1,490 บาท เป็นต้น 
จึงมักนิยมใช้ SSD 1 ตัวที่ความจุน้อยๆ และซื้อ Hard Disk แบบ SATA-III ที่มีความจุมากกว่า
แต่ราคาถูกกว่ามาเพื่อเก็บข้อมูลครับ


6. Power Supply นี่เป็นตัวหลักเลยที่ทำให้คนประกอบคอมค่อนข้างปวดหัวกัน 


เนื่องจากเสปคการกินไฟของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่เท่ากัน สมัยก่อนต้องไปไล่เซ็คอุปกรณ์แต่ละตัว 
แล้วคำนวณโดยประมาณ แต่ตอนนี้ชีวิตง่ายขึ้นเมื่อผมเจอเว็ปไซด์ 

http://outervision.com/power-supply-calculator#Expert
และ
http://www.coolermaster.com/power-supply-calculator/


วิธีการใช้ให้เราเลือกข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆ ลงในแต่ละช่อง แล้วคลิกที่ปุ่ม Calculate ก็จะคำนวณกำลังไฟที่ใช้ออกมาได้ครับ

เมื่อได้กำลังไฟที่ต้องการก็ไปเลือก Power Supply ตามกำลังไฟที่ต้องการได้เลยครับ

------------------------------------------------------

การเลือกซื้ออุปกรณ์ หลักๆ เพื่อประกอบคอมพิวเตอร์ PC หนึ่งเครื่องก็ประมาณนี้ครับ  

ส่วนอุปกรณ์ที่เหลือ ได้แก่ CASE, DVD Drive, LCD Monitor, Mouse, Keyboard ฯลฯ

ดูว่างบประมาณเหลืออยู่เท่าไหร่ก็จัดไปตามความชอบ และงบประมาณได้เลยครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น