วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงวารสาร RESGAT ปี พ.ศ.2558

วารสารวารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย (สสสท.) 
หรือ 
Journal of Remote Sensing and GIS Association of Thailand (RESGAT)

เป็นวารสารที่รวบรวมบทความและงานวิจัยทางด้าน Geo-informatics ไว้เป็นจำนวนมาก
ซึ่งในปัจจุบัน วารสาร สสสท. ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre: TCI) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI โดยจัดเป็นวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มที่ 2

ซึ่งเมื่อผู้เขียนนำชื่อวารสารไปสืบค้นหาค่า Impact Factor ล่าสุดจากเว็ปไซด์

http://www.li.mahidol.ac.th/e-resource/thai_if_sci.php


ได้ข้อมูลดังภาพ


โดยเงื่อนไขของการรับบทความของวารสาร RESGAT มีดังนี้

การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว ทางสมาคมฯ 
ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าผู้เขียนหลัก (ผู้เขียนที่มีรายชื่ออยู่ลำดับแรก) 
จะต้องเป็นสมาชิกสมาคมฯ

ถ้าผู้เขียนหลักยังไม่เป็นสมาชิกจะต้องสมัครสมาชิก โดยมีค่าธรรมเนียมดังนี้

ก) ค่าลงทะเบียนแรกเข้า 100 บาท

ข) ค่าสมาชิกรายปี 200 บาท หรือ ค่าสมาชิกตลอดชีพ 1,000 บาท (โดยเลือกแบบใดแบบหนึ่ง)

****ทุกบทความจะต้องชำระค่าธรรมเนียม Peer review 500 บาท ต่อบทความ 1 เรื่อง***

ช่องทางติดต่อวารสารฯ

FACEBOOK

-------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนการส่งบทความตีพิมพ์วารสาร RESGAT ปี พ.ศ.2558

1. จัดเตรียมบทความ 
โดยอ้างอิงรูปแบบการจัดเรียงบทความได้จากเอกสาร 
"คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง" ดังเอกสารแนบนี้



2. ส่งต้นฉบับไปที่ E-mail :
siripon@gistda.or.th 
siripon@gmail.com 
และ isariyat@gistda.or.th

พร้อมทั้งอธิบายแนะนำตัวเอง และบทความของเราอย่างคร่าวๆ แนบไปด้วย


3. ภายในระยะเวลา 1 วัน 
กองบรรณาธิการวารสารฯ จะ E-mail แจ้งกลับมาว่า 

"กองบรรณาธิการได้รับบทความของท่านเรียบร้อยแล้ว"

พร้อมทั้งแจ้งค่าใช้จ่ายในการลงบทความ 
จำนวนบทความละ 500 บาท 
โดยจะต้องจ่ายผ่านบัญชีธนาคารที่กำหนดไว้ 
พร้อมทั้งส่งหลักฐานการโอนเงินตอบกลับ E-mail ดังกล่าว


4. ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์
กองบรรณาธิการวารสารฯ จะ E-mail แจ้งกลับมาว่า

"ขณะนี้บทความอยู่ระหว่างการ Review โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาจใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ จึงจะสามารถรวบรวม และสรุปข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อส่งให้อาจารย์อีกครั้งค่ะ"

5. ประมาณ 2-3 สัปดาห์นับจากวันที่แจ้งหลักฐานการโอนเงิน
กองบรรณาธิการวารสารฯ จะ E-mail แจ้งกลับมาว่า

บทความมีความเหมาะสมที่จะพิมพ์เผยแพร่หรือไม่ 
และควรแก้ไขบทความอย่างไร ตรงตำแหน่งใดบ้าง
โดยมีเอกสารแนบ "3_แบบประเมิน.docx" และ "คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง.docx" มาด้วย 
มีรายละเอียดดังนี้

"ในการแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ขอความกรุณาท่านโปรดดำเนินการดังนี้:

- แก้ไขเพิ่มเติมบทความดังกล่าวตามข้อเสนอแนะ (3_แบบประเมิน.docx )
- ระบุรายละเอียดการแก้ไขบทความในไฟล์ 3_แบบประเมิน.docx
- จัดรูปแบบเอกสารตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ 
(ตาม คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง.docx) 
- กรุณาจัดเตรียมบทความ 2 Versions ประกอบด้วย
(1) ภาพประกอบใช้โทนสีขาว-ดำ เพื่อตีพิมพ์ในวารสาร
(2) ภาพประกอบเป็นภาพสี เพื่อเผยแพร่ใน Web site
โปรดส่งบทความที่แก้ไขแล้วกลับมายัง E-mail นี้ ภายในวันที่ X ตุลาคม 2558"

***ควรแก้ไขประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน และระบุบรรทัดและเลขหน้าที่ได้ทำการแก้ไขด้วย

พร้อมทั้งตรวจรูปแบบของการอ้างอิงวารสารให้เรียบร้อย***


6. ส่งบทความที่ได้รับการแก้ไขครั้ง 1 ที่ E-mail ของบรรณาธิการวารสารฯ อีกครั้ง

7. ประมาณ 2-3 สัปดาห์
นับจากวันที่ส่งแก้ไขวารสารครั้งที่ 1
กองบรรณาธิการวารสารฯ จะ E-mail แจ้งกลับมาว่า
บทความต้องแก้ไขส่วนใดเพิ่มหรือไม่

8. ส่งบทความที่ได้รับการแก้ไขครั้ง 2 ที่ E-mail ของบรรณาธิการวารสารฯ อีกครั้ง


9. ประมาณ 2-3 วัน ทางวารสารจะส่ง 



หนังสือรับรองการรับบทความลงตีพิมพ์

มาพร้อมทั้งระบุฉบับของวารสารฯ ที่บทความของเราได้ลงตีพิมพ์ไว้ด้วย

สรุปใช้ระยเวลาในการดำเนินการรวมทั้งสิ้นประมาณ 2 เดือน
(ตั้งแต่ 4 กันยายน 2558 ถึง 6 พฤศจิกายน 2558)

หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางในการตีพิมพ์วารสาร
เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาและผู้ที่สนใจได้ช่องทางหนึ่ง

มีข้อสอบถามใด ถ้าผู้เขียนสามารถตอบได้ ยินดีเสมอครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น